วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภัยใกล้ตัว





ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก เสี่ยง! "มะเร็ง"

คุณๆ รู้หรือไม่ว่า ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีกเสี่ยง! "มะเร็ง" มีคนจำนวนไม่น้อยและหลายบ้านเลยทีเดียวที่มักจะนำ ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว นำกลับมาใช้ใหม่เรื่อยๆ และคุณเคยสังเกตไหมว่า "ขวดน้ำที่คุณใช้มันบางลง" แต่อาจจะมีบางท่านที่ลืมนึกถึงความสะอาดไป หรือลืมทำความสะอาดไปบ้าง และเพื่อให้ทุกคนที่รักในสุขภาพได้ใส่ใจในเรื่อง ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก นั้น ควรจะมาทำความรู้จักเรื่องนี้กันให้มากยิ่งขึ้นค่ะ และวันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ก็นำเรื่อง ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก เสี่ยง! "มะเร็ง" ให้ได้เป็นประโยชน์ความรู้แด่ทุกท่านที่รักในสุขภาพกันอีกด้วยค่ะ


นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ อธิบายว่า ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก อันตรายจริง โดยเฉพาะขวดน้ำพลาสติกแบบโพลีคาร์บอเนต เมื่อโดนความเย็นจัดหรือร้อนจี๋ หรือ การขบกัดขูดขีดกระแทก จะทำให้มีสารก่อมะเร็งกลุ่ม BPA (Bis-phenol A) ซึ่งเป็นสารเคมีที่พบในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากพลาสติกออกมา ซึ่งจากงานวิจัยของฮาร์วาร์ดพบว่าเพียง 3-4 ส่วนในล้านส่วนก็ก่อมะเร็งในหนูทดลองได้ ที่ซุปเปอร์มาร์เกตในแคนาดาจึงออกกฎเตือนว่า เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องปิดฉลากเตือนไว้และถ้าเป็นเครื่องบริโภคบางอย่างถึงขนาดห้ามใช้พลาสติกเลยทีเดียว

แต่ที่ทางการบ้านเรายังไม่ตื่นเต้นก็เพราะว่า ยังเป็นผลการวิจัยว่าเกิดมะเร็งในระดับสัตว์ทดลองและมีปริมาณสารพิษไม่มาก แต่อย่าลืมว่าถ้าเลี่ยงๆ ไว้ก่อนได้ก็จะดีกว่ารออีก 10 ปี มีงานวิจัยออกมาบอกว่าคนก็เป็นมะเร็งได้ซึ่งไม่มีประโยชน์เสียแล้ว

และอย่าลืมอีกข้อที่สำคัญคือถึงแม้มี BPA ปริมาณน้อยจากขวดพลาสติก แต่อย่าลืมว่าวันหนึ่งเราดื่มน้ำจากขวดพลาสติกกันหลายรอบทีเดียว เวลาเบรกจากประชุมหรือสัมมนาแต่ละทีก็ดื่มกันอึกอัก ไปแวะกินข้าว ก่อนกลับบ้านก็ดื่มอีกขวดหนึ่ง วันหนึ่ง 3-4 รอบบ่อยๆ เข้าก็มี BPA สะสมได้นะค่ะ



ลักษณะการใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ทำให้มีการเสี่ยงมีดังนี้
1. ขวดพลาสติกหรือแก้วพลาสติกเอามาใช้แล้วใช้อีก
2. ขวดพลาสติกที่กระทบกระแทกขูดขีดไปมาจากการทิ้งไว้ในรถยนต์
3. ขวดพลาสติกที่โดนความเย็นจัดต่ำกว่าศูนย์หรือร้อนจัดมาก เช่น ใส่น้ำต้มกาแฟ หรือใส่เข้าไปในไมโครเวฟ
4. กล่องโฟมพลาสติกและพลาสติกใส (Wrapper) ห่ออาหารเข้าไมโครเวฟก็ต้องระวัง
5. ขวดนมเด็กพลาสติกเพราะมีโอกาสที่สารนี้หลุดปนออกมาจากการที่เด็กอมขบกัดพลาสติก
6. ของเล่นตุ๊กตุ่น ตุ๊กตาพลาสติกราคาถูกและเครื่องใช้พลาสติกตามตลาดนัดมักทำจากพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพต่ำ ทำให้ต้องเติมสารพิเศษให้พลาสติกเสถียรซึ่งสารนี้ก่อมะเร็งได้
7. อาหารที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง เช่น ในนมวัวที่มาจากวัวกินหญ้าปนเปื้อนยาฆ่าแมลง จะมีสารซีโนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนมรณะทำให้เด็กสาวโตวัยมีนมแตกพานได้ตั้งแต่อายุไม่ถึง 3 ขวบ



วิธีหนีให้ไกลมัจจุราชเงียบในพลาสติก คือ
1. ใช้ขวดแก้วแทนขวดพลาสติก
2. ใช้จานชามกระเบื้องหรือหม้อกระเบื้องเคลือบแทน
3. รณรงค์ให้ใช้วัสดุอินทรีย์แทนพลาสติก เช่น ใบตอง ห่อผัดไทยใช้เชือกกล้วยผูกหิ้ว
4. ขวดน้ำพลาสติกอย่าทิ้งไว้ในรถหรืออย่านำกลับมาใช้ใหม่
5. อย่าใช้ความร้อนสูงหรือใช้ความเย็นจัดกับภาชนะพลาสติก เช่น เอาไปใส่ในไมโครเวฟหรือใส่ไว้ในช่องแช่แข็ง
6. อย่าให้ภาชนะกระทบกระแทกหรือขูดขีดมาก ระวังไม่ให้เด็กอมขวดหรือกัดพลาสติกเล่น
7. ในแต่ละวันจำกัดการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกไว้ไม่ให้มากเกินไป ไม่ใช่ประชุมกัน 4 รอบ ก็กินเบรกแกล้มกับดื่มน้ำขวดพลาสติกทุกครั้ง อาจใช้แก้วกาแฟรองน้ำเปล่าดื่มบ้างก็ได้


อย่างไรก็ตามสำหรับขวดน้ำดื่มพลาสติกที่ทำมาจากพลาสติกโพลิเอทีลีนเทอเรพทาเลท หรือ PET ที่มีความปลอดภัยสูงความโปร่งใสแข็งแรงทนทาน เหนียว ไม่แตกง่าย แต่เพื่อความปลอดภัยก็ไม่ควรที่จะนำมาใช้ซ้ำๆ นานๆ ควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเช่นกัน



ขอขอบคุณข้อมูลการดูแลสุขภาพจาก อสมท. ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น